วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบใหม่

อธิบาย
โปรตีน

เป็น ส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ มีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ส่วนธาตุที่ประกอบในปริมาณน้อยได้แก่ กำมะถัน ฟอสฟอรัส เหล็ก โปรตีนจะแตกต่างกันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนประกอบย่อยของโปรตีน

กรดอะมิโน

กรด อะมิโนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ กรดอะมิโนได้มาจากการที่โปรตีนถูกย่อย เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งนำไปเป็นพลังงาน กรดอะมิโนที่สำคัญ ได้แก่ ธรีโอนีน(threonine) วิลเลียม โรส เป็นผู้ค้นพบ เขาพบว่า เมื่อคนกินอาหารที่ขาดอะมิโนชนิดนี้สักระยะหนึ่ง คนเหล่านั้นจะรู้สึกหงุดหงิดเข้ากับคนได้ยาก ไม่มีสมาธิในการทำงาน อาการเช่นนี้จะหมดไปเมื่อเติมกรดอะมิโนชนิดนี้ลงไปในอาหาร จะเห็นได้ว่ากรดอะมิโนมีผลต่อร่างกายและสมอง

โปรตีนที่ได้จากนมเรียก ว่า เคซีน เป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วน แต่ผู้ใหญ่ส่วนมากไม่สามารถดื่มนมได้ เพราะการแพ้ที่ต่างๆกัน เช่น ท้องอืด ท้องเดิน อาการเช่นนี้เกิดจากการที่ร่างกายของผู้ใหญ่ส่วนมากขาดเอนไซม์ที่มีชื่อว่า แลกเตสที่ใช้ในการย่อยแลกเตสในน้ำนม

เมื่ออาหารในโปรตีนถูกย่อย จะกลายเป็นกรดอะมิโน กรดอะมิโนแบ่งเป็น 2 พวก ได้แก่

กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ จำเป็นต้องได้นับจากอาหารเท่านั้น

กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้

โปรตีน ประเภทสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายทุกชนิด และอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับร่างกาย โปรตีนชนิดนี้มีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเหลือง

โปรตีนประเภทไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบทุกชนิด โปรตีนชนิดนี้ มีในอาหารจำพวกพืชที่มีโปรตีนทั่วไป ยกเว้นถั่วเหลือง

หน้าที่ของโปรตีน

สร้างเนื้อเยื่อต่างๆและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในอวัยวะต่างๆ

เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย และฮอร์โมน

เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่สามารถต้านทานโรค

ให้พลังงาน คือ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี

ร่างกายสามารถใช้โปรตีนแทนคาร์โบไฮเดรตได้


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/protien.html


ตอบ ข้อ4 ครับ















อธิบาย

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบ ไฮเดรต เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ซึ่งมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ พืชใช้พลังงานจากแสงแดดในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศและน้ำซึ่งดูดจากดิน และจะสะสมอาหารในส่วนต่างๆของพืช เช่น เมล็ด ใบ หัว ลำต้น ชนิดของคาร์โบไฮเดรตมีหลายชนิด จัดเป็นพวกใหญ่ๆได้ดังนี้

น้ำตาล ชั้นเดียว (โมโนแซคคาไรด์) มีโมเลกุลเล็กที่สุด มีรสหวาน และละลายน้ำได้ เช่น กลูโคส ฟรุกโตส(ได้มาจากผลไม้) กาแลคโตส(ได้มาจากการสลายตัวของแลกโตสในนม)

น้ำตาล 2 ชั้น (ไดแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียว2โมเลกุลมารวมกัน จึงจัดเป็นน้ำตาล2ชั้น มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส(กลูโคส+ฟรุกโตส) แลกโตส(กลูโคส+กาแลกโตส) มอลโตส(กลูโคส+กลูโคส)

น้ำตาลหลายชั้น (โพลีแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดียวมากกว่าสองโมเลกุลมารวมกัน ไม่มีรสหวานและไม่ละลายน้ำ พืชและสัตว์มักเก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลหลายชั้น เช่น แป้งในพืช ไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลสในพืช



หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

ให้พลังงานและความร้อน คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี

ช่วยให้การใช้ไขมันในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ถ้าคาร์โบไฮเดรตมีไม่เพียงพอในอาหาร การใช้ไขมันในร่างกายจะไม่สมบูรณ์ด้วย

คาร์โบไฮเดรตบางชนิด เช่น กลูโคส เป็นอาหารของเซลล์และเนื้อเยื่อในสมอง

โมเลกุลของกลูโคส ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนในร่างกาย

ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไขมันได้ และจะถูกสะสมในร่างกาย ดังนั้นไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/carbohydrate.html

ตอบ ข้อ1 ครับ




อธิบาย

กรดไขมัน (Fatty Acids)
กรดไขมันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนทุกตัวในโมเลกุลไม่สามารถจับกับไฮโดรเจนเพิ่มได้
และไม่สามารถจะจับกับสารใดๆ ได้อีก ไขมันอิ่มตัวมักได้มาจากสัตว์ ซึ่งมีลักษณะแข็งตัวได้แม้ในอุณหภูมิปกติ เช่น เนยแข็ง
น้ำมันหมู ช็อคโกแลต เป็นต้น โดยพวกนี้จะมีไขมันที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดจับตัว
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลสามารถเกาะกับไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นได้
กรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก
น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มี
ลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอ
รอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือด
แดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และ
พบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จาก
กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้น หากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไป
จะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่
ระหว่าง 70-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

ที่มา http://www.nautilus.co.th/health_nutrition/tips_fatty.asp

ตอบ ข้อ4 ครับ







อธิบาย

กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน

สูตรทั่วไป


กรด อะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์


สมบัติของกรดอะมิโน

1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี

2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์

3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน

4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance


การเกิดพันธะเพปไทด์

พันธะ เพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง


สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้

ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/amino.html

ตอบ ข้อ 2 ครับ






อธิบาย

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid, DNA ) พบ DNA ในโครโมโซม เป็นตัวสำคัญในการถ่ายทอด

ทางพันธุกรรมในนิวเคลียส กรดนิวคลีอิกอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid ,RNA)พบในไรโบโซม

RNA และในไซโตพลาสซึม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน ทั้ง DNA และ RNA เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ
หน้าที่
DNA ทำหน้าที่หลักในการเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

RNA ทำหน้าที่หลักในการถ่ายทอดข้อความทางพันธุกรรมจาก DNA ไปเป็นโปรตีน
กรดนิวคลีอิกทั้ง DNA และ RNA ถูกไฮโดรไลซ์แล้ว จะให้มอนอเมอร์ เรียกว่านิวคลีโอไทด์

ถ้าไฮโดรไลซ์นิวคลีโอไทด์์ต่อไปจะให้นิวคลีโอไซด์ และกรดฟอสฟอริก นิวคลีโอไซด์ถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปให้

เฮเทอโรไซคลิกเบสและน้ำตาลเพนโทส ซึ่งถ้าเป็น RNA เพนโทส คือ D-Ribose และ 2-Deoxyribose

ในกรณีที่เป็น DNA
กรดนิวคลีอิกสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก

(deoxyribonucleicacid, DNA ) และกรด ไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid , RNA) DNA และ RNA ตามลำดับ

มีโครงสร้างโมเลกุลพื้นฐานเป็น 3 ส่วน เหมือนกันคือ ไนโตรเจนเบส ( nitrogenous base) น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 ตัว

(น้ำตาลไรโบส และ ดีออกซีไรโบส)และหมู่ฟอสเฟต

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/28/P_Untitled-31.html

ตอบ ข้อ 2 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน

ขอให้เพื่อนๆๆ และคุณครู ญาติและผู้มีเกรยติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 แต้ม

ขอขอบคุณทุกท่าน

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สารชีวโมเลกุล

สารชีวะโมเลกุล

คำอธิบาย
สารชีวโมเลกุล คืออะไร
สาร ชีวโมเลกุล คือ สารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งภายในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตุพื้นฐาน คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) หรือในบางโมเลกุลของโปรตีนอาจจะมีธาตุอื่น ๆ เพิ่มเติม คือ ธาตุไนโตรเจน (N) กำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P) เป็นต้น
สารชี วโมเลกุลเป็นสารที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอย่างยิ่ง โดยโมเลกุลของสารชีวโมเลกุลจะสามารถถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลที่เล็กลง และนำเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญเป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิต และสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้สารชีวโมเลกุลจำพวกโปรตีนยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์และเนื้อ เยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย และยังเป็นสารสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์สารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบ ต่าง ๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ เป็นต้น

ตอบ 2. 3 ชนิดไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต


ไขมันและน้ำมัน
คุณ ค่าทางโภชนาการ น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานที่มีสูงมาก โดยไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานถึง 9 แคลอรี มากกว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตกว่า 2 เท่า ในไขมันมีกรดที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ กรดไลโนเลอิค ไลโอเลนิค และกรดอะแรคิโดนิค แม้ว่าร่างกายจะสร้างไขมันทั้ง 3 ชนิดนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถหากรดทั้ง 3 ได้จากอาหารชนิดอื่น ดังนั้นผู้ที่ลดความอ้วน จึงไม่ควรงดไขมันด้วย
ไขมันช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค การย่อยไขมันจะย่อบยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมาก ไขมันจะอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้นานกว่าอาหารอื่น ผู้ทานไขมันจึงรู้สึกอิ่มนาน

ตอบ ข้อ. 3

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/fatpic.html





ใน ทาง เคมี สารละลาย คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวทำละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวถูกละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำ
สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือการที่ปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล ของตัวทำละลายกระทำซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับ ตัวถูกละลาย แล้วคุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของคุณสมบัติของส่วนประกอบของมัน
ตัวทำละลาย (solvent) ตามความหมายแบบเดิมคือ สารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน (เช่น สารละลายมี เอทานอล 50% และ น้ำ 50%) คำจำกัดความเกี่ยวกับตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะมีความสำคัญน้อยลง แต่โดยทั่วไปสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย

ตอบ ข้อ. 1

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สารละลาย




พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนท์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึด
กับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง
กรดอะมิโน (amino acid) ประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจนนอกจากนี้บางชนิด
อาจประกอบด้วยอะตอมของธาตุอื่นๆ อีก เช่น ฟอสฟอรัส เหล็กและกำมะถัน เป็นตัน
กรดอะมิโนแต่ละชนิดสามารถต่อกันได้ด้วยพันธะโคเวเลนท์ที่มีชื่อเฉพาะว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) โครงสร้างซึ่ง
ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นสายนี้เรียกว่า เพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

ตอบ 2
ที่มา http://www.enn.co.th/news/147/ARTICLE/4860/2008-10-05.html



โครง สร้างของคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยธาตุองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน สำหรับแป้ง เซลลูโลสและไกลโคเจน เกิดจากกลูโคสหลายโมเลกุลมารวมตัวกันเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ตัวอย่างโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลส
แป้งในสภาวะที่เป็นกรดจะถูกไฮโดร ไลซ์ได้ง่ายได้สารที่มีโมเลกุลเล็กลงเรียกว่า เด็กซ์ตริน เมื่อถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปจะได้มอลโทสและกลูโคส ตามลำดับ แป้งที่อยู่ในร่างกายจะถูกย่อยโดยเอนไซม์อะไมเลสและมอลเทส
เซลลูโลสทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของพืช การไฮโดรไลซ์เซลลูโลสอย่างสมบูรณ์จะได้กลูโคสเป็นผลิตภัณฑ์
สำหรับ ไกลโคเจนซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในเซลล์ของสัตว์ พบมากในตับและกล้ามเนื้อ ไกลโคเจนประกอบด้วยกลูโคสเชื่อมต่อกันคล้ายกับส่วนที่เป็นอะไมโลเพกตินของ แป้ง แต่จะมีมวลโมเลกุลมีโซ่กิ่งมากกว่า

ตอบ ข้อ. 1

ที่มา http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/Carbohidred.htm




อินซูลิน คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อย กลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วน ของร่างกาย

ข้อสอบสารชีวโมเลกุล

http://www.vcharkarn.com/exam/index.php/set/794

http://202.44.68.33/library/exam/intro/class4.htm

http://gotoknow.org/blog/kroonit/157040

http://thaigoodview.com/node/21065

http://www.chemistry.sc.chula.ac.th/Chem_Tutor/biomolecules.pdf